เมนู

ข้าพเจ้ายิ่งนัก ท่านภารทวาชะ แต่ว่า ในสมัยใดแล ข้าพเจ้ามีกายอัน
รักษาแล้ว มีวาจาอันรักษาแล้ว มีจิตอันรักษาแล้ว มีสติอันตั้งไว้แล้ว
มีอินทรีย์ทั้งหลายอันสำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือ
ความโลภทั้งหลายไม่ครอบงำข้าพเจ้า ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่าน
ไพเราะนัก ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่านเพเราะนัก ท่านภารทวาชะ
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของ
ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า
ผู้มีจักษุจะเห็นรูปได้ ฉะนั้น ท่านภารทวาชะ ข้าพเจ้าขอถึง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระองค์นั้นกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ขอท่าน
ภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอด
ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด.
จบ ภารทวาชสูตรที่ 4

อรรถกถาภารทวาชสูตรที่ 4


ในภารทวาชสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ภิกษุนั้น ชื่อว่า ปิณโฑละ เพราะบวชเสาะแสวงหาก้อนข้าว.
ได้ยินว่า ท่านเป็นพราหมณ์ผู้สิ้นเนื้อประดาตัว. ทีนั้นเขาเห็นลาภและ
สักการะของภิกษุสงฆ์ จึงออกบวชเพื่อต้องกาวก้อนข้าว. ท่านถือเอา
บาตรภาชนะขนาดใหญ่เที่ยวขอเขาไป. เพราะเหตุนั้น ท่านดื่มข้าวยาคู
เต็มภาชนะ เคี้ยวกินขนมเต็มภาชนะ บริโภคข้าวเต็มภาชนะ. ลำดับนั้น

ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลความที่ท่านฉันจุ แด่พระศาสดา. พระศาสดา
ไม่ทรงอนุญาตถุงบาตรแก่ท่าน คว่ำบาตรวางไว้ใต้เตียง. ท่านแม้เมื่อจะวาง
ก็ครูดวางส่ง ๆ ไป แม้เมื่อจะถือเอาก็ครูดลากมาถือไว้. บาตรนั้นเมื่อกาล
ล่วงไปๆ กร่อนไปด้วยการถูกครูด รับของได้เพียงข้าวสุกทนานเดียวเท่านั้น.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระศาสดา. ต่อมาพระศาสดา
ทรงอนุญาตถุงบาตรแก่ท่าน. สมัยต่อมาพระเถระ เจริญอินทรีย์ภาวนา
ดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ. ดังนั้น ท่านจึงชื่อ ปิณโฑละ เพราะ
บวชเพื่อต้องการก้อนข้าว แต่โดยโคตร ชื่อว่า ภารทวาชะ เหตุนั้น รวมชื่อ
ทั้งสองเข้าด้วยกันจึงเรียกว่า ปิณโฑลภารัทวาชะดังนี้.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า อันมหาอำมาตย์ ผู้มีชื่อเสียงกำจร-
กำจาย แวดล้อมเข้าไปหา ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระเที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงสาวัตถี เสร็จภัตกิจแล้ว คิดว่าในฤดูร้อน จักนั่งพักกลางวันในที่เย็น ๆ
จึงเหาะเที่ยวไปในพระราชอุทยาน ชื่อว่า อุทกัฏฐาน ของพระเจ้าอุเทน
ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา นั่งพักกลางวัน ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ถูกลมผสมน้ำ
ที่เย็นโชยมา.
ฝ่ายพระเจ้าอุเทน ทรงดื่มมหาปานะ ( สุรา? ) ตลอด 7 วัน
ในวันที่ 7 ทรงรับสั่งให้ตกแต่งพระราชอุทยาน มีชนกลุ่มใหญ่แวดล้อม
เสด็จไปพระราชอุทยาน ทรงบรรทมบนพระแท่นบรรทมที่ลาดไว้ใต้ต้นไม้
แห่งหนึ่ง บนหลังแผ่นหินอันเป็นมงคล. บาทปริจาริกานางบำเรอคนหนึ่ง
ของพระองค์ นั่งนวดฟั้นพระบาทอยู่. พระราชาเสด็จสู่นิทรารมณ์ด้วย

การนวดฟั้น. เมื่อบรรทมหลับ เหล่าหญิงร้องรำทั้งหลายคิดว่า เราบรรเลง
เพลงขับกล่อมเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชาพระองค์ใด พระราชา
พระองค์ก็บรรทมหลับแล้ว ในเวลาพระองค์บรรทมหลับ ควรเราจะทำ
ความหรรษากัน. จึงวางเครื่องดนตรีของตน ๆ เข้าไปยังอุทยาน. หญิง-
เหล่านั้น เที่ยวกินผลไม้น้อยใหญ่ ประดับดอกไม้อยู่ เห็นพระเถระ
ต่างห้ามกันและกันว่า อย่าทำเสียงเอ็ดไปแล้วนั่งลงไหว้. พระเถระ
แสดงธรรมกถาแก่หญิงเหล่านั้น โดยนัยว่า พวกเธอพึงละความริษยา
พึงบรรเทาความตระหนี่เป็นต้น หญิงบาทปริจาริกาผู้นั่งนวดฟั้นพระบาท
ของพระราชานั้นอยู่ ก็เขย่าพระบาทปลุกพระราชา พระราชา ตรัสถามว่า
หญิงเหล่านั้นไปไหน. หญิงนั้น ทูลว่า พระองค์จะมีพระราชประสงค์
อะไรด้วยหญิงเหล่านั้น หญิงร้องรำเหล่านั้นนั่งล้อมพระสมณะองค์หนึ่ง.
พระราชา ทรงพระพิโรธ เหมือนเกลือใส่เตาไฟ กระทืบพระบาท
ทรงพระดำริว่า เราจะให้มดแดงกัดสมณะนั้น จึงเสด็จไป เห็นรังมดแดง
บนต้นอโสก ทรงเอาพระหัตถ์กระชากลงมา แต่ไม่อาจจับกิ่งไม้ได้ รังมด
แดงขาดตกลงบนพระเศียรพระราชา. ทั้งพระวรกาย ได้เป็นเสมือน
เกลื่อนไปด้วยแกลบข้าวสาลี และเป็นเสมือนถูกประทีปด้ามเผาเอา.
พระเถระทราบว่าพระราชากริ้ว จึงเหาะไปด้วยฤทธิ์. หญิงแม้เหล่านั้น
ลุกขึ้นไปใกล้ ๆ พระราชา ทำที่เช็ดพระวรกาย จับมดแดงที่ตกลง ๆ
ที่ภาคพื้น โยนไปบนที่พระวรกาย และเอาหอกคือปากแทงมดดำมดแดง
เหล่านั้นว่า นี้อะไรกัน พระราชาเหล่าอื่น เห็นบรรพชิตทั้งหลายแล้วไหว้
แต่พระราชาพระองค์นี้ ทรงประสงค์จะทำลาย มดแดงบนศีรษะ. พระราชา

ทรงเห็นความผิด จึงรับสั่งให้เรียกคนเฝ้าสวนมาตรัสถามว่า บรรพชิตนี้
แม้ในวันอื่น ๆ มาในที่หรือ. คนเฝ้าพระราชอุทยานกราบทูลว่า อย่างนั้น
พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ในวันที่ท่านมาในที่นี้เจ้าพึงบอกเรา.
2-3 วันเท่านั้น แม้พระเถระก็มานั่งที่โคนไม้. คนเฝ้าพระราชอุทยาน
เห็นเข้า คือว่า นี้เป็นบรรณาการใหญ่ของเรา จึงรีบไปกราบทูลพระราชา.
พระราชาเสด็จลุกขึ้น ทรงห้ามเสียงสังข์และบัณเฑาะว์เป็นต้น ได้เสด็จ
ไปยิ่งพระราชอุทยาน พร้อมด้วยอำมาตย์ผู้มีชื่อเสียงกำจรกำจาย. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อุปสงฺกมิตฺวา.
บทว่า อนิกีฬิตาวิโน กาเมสุ ความว่า ความเล่นสำเริงใดใน
กามทั้งหลาย ผู้มีระดูมิได้สำเริงนั้น อธิบายว่าไม่ประสงค์บริโภคกาม. บทว่า
อทธานญฺจ อาปาเทนฺติ ความว่า ถือประเพณีประพฤติตามประเพณีมานาน.
บทว่า มาตุมตฺตีสุ แปลว่า ปูนมารดา จริงอยู่ คำทั้งหลายนี้ คือ มารดา
พี่สาว ลูกสาว เป็นอารมณ์หนักในโลก. พระเถระเมื่อแสดว่าบุคคลชำระ
จิตที่ผูกพันด้วยอารมณ์อันหนักไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนั้นด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระเถระ เห็นจิตของท้าวเธอไม่ทรงหยังลงโดยสัญญานั้น จึง
กล่าวกัมมัฏฐานคืออาการ 32 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อผูกจิตไว้ด้วย
อำนาจมนสิการปฏิกูลสัญญา (ใส่ใจด้วยสำคัญว่าเป็นของปฏิกูล )
บทว่า อภาวิตกายา ได้แก่ ผู้มีกายอันเป็นไปในทวาร 5 ยังมิ
ได้อบรม. บทว่า เตสํ ตํ ทุกฺกรํ โหติ ความว่า อสุภกรรมฐาน ของ
ผู้ที่ไม่ได้อบรมกายเหล่านั้น เป็นของทำได้ยาก. พระเถระ เมื่อเห็น
จิตของท้าวเธอที่ไม่หยั่งลงด้วยกรรมฐานแล้วนี้ จึงแสดง อินทรียสังวรศีล

แก่ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่พระเจ้าอุเทนย่อมยังชำระจิตที่เข้าไป
ผูกไว้ ในอินทรีย์สังวรไม่ได้. พระเจ้าอุเทนทรงสดับข้อนั้น เป็นผู้มีจิต
หยั่งลงในกรรมฐานนั้น .จึงตรัสคำมีอาทิว่า อจฺฉริยํ โภ ภารทฺวาช
ท่านภารทวาชะ อัศจรรย์จริง.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน เป็นต้นดังต่อไป
นี้ :- เมื่อคนองมือคนองเท้า เอี้ยวคอไปมาชื่อว่า ไม่รักษากาย. เมื่อ
กล่าวคำชั่วหยาบมีประการต่าง ๆ ชื่อว่า ไม่รักษาอาจาระ. เมื่อตรึกถึงกาม
วิตกเป็นต้น ชื่อว่า ไม่รักษาจิต. พึงทราบความ โดยปริยายดังกล่าวแล้ว
ในคำว่า รกฺขิเตเนว กาเยน เป็นต้น
บทว่า อติวิย มํ ตสฺมึ สมเย โลภธมฺมา ปริสหนฺติ ความว่า
ในสมัยนั้น ความโลภย่อมละเมิดครอบงำข้าพเจ้า บทว่า อุปฏฺฐิตาย
สติยา
ได้แก่ มีกายคตาสติ สติอันไปแล้วในกายตั้งมั่นแล้ว. บทว่า น มํ
ตถา ตสฺมึ สมเย
ความว่าความโลภย่อมละเมิดเรา เกิดขึ้นเหมือนอย่าง
แต่ก่อน. บทว่า ปริสหนฺติ ความว่าย่อมเกิดนั่นแล. ดังนั้น พระเถระ
จึงกล่าวกาย 3 ไว้ในพระสูตรนี้ . จริงอยู่ในคำว่า อิมเมว กายํ นี้
ท่านกล่าวถึงกรัชกาย. ในคำว่า ภาวิตกาโย นี้ กล่าวถึงกายที่เป็นไป
ในทวาร 5.ในคำว่า รกฺขิเตเนว กาเยน นี้ ได้แก่ โจปนกาย กาย
ไหวกาย อธิบายว่า กายวิญญัติทำให้เขารู้ด้วยกาย.
จบ อรรถกถาภารทวาชสูตรที่ 4

5. โสณสูตร1


ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน


[199] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรแห่งคฤหบดีชื่อว่า
โสณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค-
เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอที่สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน และเหตุปัจจัยอะไร ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มีอยู่แล .คฤหบดี
บุตร ฯลฯ ( เหมือนสูตรที่ 1 ข้อที่ 191 และ 192 )
จบ โสณสูตรที่ 5

6. โฆสิตสูตร


ว่าด้วยความแตกต่างแห่งธาตุ


[200] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล โฆสิตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ
ครั้นแล้ว ได้ถามพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ที่เรียกว่าความ
แตกต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความแตกต่างแห่งธาตุไว้
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี มีอยู่แล
1. อรรถกถาแก้ว่า ง่ายทั้งนั้น.